วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

    บทที่1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
                 การปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติการต้องตะหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีอย่างปลอดภัย
       
        1.1.1 ประเภทของสารเคมี
               
               สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนำไปใช้ และการกำจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
        1.ชื่อผลิตภัณฑ์
        2.รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นสารอันตรายของสารเคมี
        3.คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
        4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
    
สัญลักษณ์แสดงความอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบดังนี้
        1.GHS(เป็นระบบที่ใช้ในสากล) 
        2.NFPA(เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา)
   

                                                                  สัญลักษณ์ระบบ GHS

                                                                               
                                                                  สัญลักษณ์ระบบ NFPA

            นอกจากฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายต่างๆ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์สารเคมีแล้ว สารเคมีทุกชนิดยังต้องมีเอกสารความปลอดภัย ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียด เช่น สมบัติและองค์ประกอบของสารเคมี ความเป็นอันตรายปฐมพยาบาลเบื้องต้น

        1.1.2.ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิกิริยาการเคมี
    
        การทำปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทำการปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
            ก่อนทำปฏิบัติการ
        1. ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้องสอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง
        2.ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
        3.แต่งกายให้เหมาะสม
            ขณะทำปฏิบัติการ
       1.ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
            1.1.สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคุมปฏิบัติการ สวมถุงมือเมื่อต้องใช้สารเคมี สวมหน้ากากที่ต้องใช้สารเคมี
            1.2.ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือกิจกรรมอื่นๆในขณะที่ปฏิบัติการ
            1.3.ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเพียงลำพัง
            1.4.ไม่เล่นหรือไม่รบกวนผู้อื่นในขณะทำการปฏิบัติการ
            1.5.ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีอย่างเคร่งครัด
            1.6.ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน
        2.ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
            2.1.อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำสารเคมีไปใช้
            2.2.การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารต้องทำด้วยความระมัดระวัง
            2.3.การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องห้ามหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
            2.4.ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง ถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบกให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
            2.5.การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำ เพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการละลาย
            2.6.ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด ให้เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้
            2.7.เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้งสาร หากหกในปริมาณมากควรแจ้งครูผู้สอน                   
            หลังทำปฏิบัติการ
        1.ทำความอุปกรณ์ เครื่องแก้ว และวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้รวมทั้งทำความสะอาดโต๊ะทำปฏิบัติการ
        2.ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น เสื้อคลุมปฏิบัติการ แว่นตานิรภัย

    1.1.3.การกำจัดสารเคมี
       
       1.สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี ph เป็นกลางปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆได้
        2.สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ถ้ามีปริมาณมากต้องทำเป็นกลางก่อน
        3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
        4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษหรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทงห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบบทที่3

  ข้อสอบบทที่3   ข้อสอบพันธะเคมี 1. ข้อใดเป็นการเกิดพันธะโคเวเลนซ์ ก. ธาตุโลหะกับธาตุโลหะนำเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกันเป็นคู่ ๆ           ...